Wednesday, February 28, 2007

บทที่1 ฉบับปรับปรุง

บทที่ 1
1. ความสำคัญและความเป็นมาของโครงการ
ในการทำแป้งขนมปังหลายชนิด ซึ่งการปั้นขนมปังแต่ละชิ้นเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่ทำให้ทราบได้ว่าขนมปังสามารถปั้นเป็นรูปแบบต่างๆ ได้หลายอย่างเพราะแป้งที่เรานำมาปั้นนั้นต้องมีขนาดและส่วนผสมที่พอเหมาะสามารถนำมาปั้นโดยตอนนำไปอบจะไม่แตก และการนำแป้งขนมปังมาปั้นเป็นรูปต่างๆ ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ และสามารถนำไปเป็นอาหารว่างหรือสิ่งของประดับประดาที่สามารถขายได้ และการมีวิชาชีพนี้จะทำให้มีทักษะในการไปดำเนินชีวิตได้
การแข่งขันทางการตลาดที่มีอยู่ตลอดเวลานั้น ส่งผลให้ห้างและร้านค้าส่วนใหญ่ต้องปรับปรุง ให้มีรูปแบบ สไตล์ และมีสัญลักษณ์ของร้าน เพื่อสร้างรูปแบบทางการค้า ให้เป็นภาพลักษณ์ที่สวยงามโดดเด่น แปลกตา และน่าเชื่อถือ เพื่อให้เป็นที่รู้จักคุ้นเคย โดยเฉพาะสัญลักษณ์เพราะถือเป็นที่พบเห็นได้ง่าย ซึ่งจะต้องถ่ายทอด ภาพลักษณ์ของร้านได้ทั้งรูปแบบการตกแต่ง สไตล์บรรยากาศของร้าน รวมถึง แนวคิดในการออกแบบ (concept) การให้บริการทำให้กระบวนการสื่อสาร ( Communication Process) มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ซึ่งมักจะพบเห็นและสัมผัสได้ด้วยตาเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ โทรทัศน์ ทิวทัศน์ สัญลักษณ์ โดยใช้หลักการออกแบบ และวิธีการทางศิลปะมาสร้างสรรค์ เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างผู้สื่อสารและผู้รับสารโดยสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้เกิดการยอมรับและมีทัศนะคติที่ต่อการตอบสนองสื่อที่มองเห็น การสร้างสรรค์สื่อแต่ละครั้งต้องคำนึงถึง ความพอดีระหว่างสื่อกับผู้รับสาร และจำเป็นต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
1. ความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์
2. ต้องแสดงคุณค่าของการออกแบบ
3. ต้องมีความประหยัดในเชิงธุรกิจ
4. ต้องทำหน้าที่สร้างสรรค์ต่อการออกแบบ และกระบวนการผลิตสื่อ และพฤติกรรมของผู้พบเห็น

โดยทั่วไปในธรรมชาติของมนุษย์ ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่อยู่รอบตัวซึ่งสิ่งเหล่านี้มีส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาในการดำเนินชีวิต ในขณะนี้มีการพัฒนาหมู่บ้านต่างๆ มีการพัฒนาความรู้ในด้านวิชาชีพเพื่อเสริมรายได้ให้กับครอบครัว การที่ทำขนมปังมาประยุกต์เป็นรูปต่างๆ เพื่อให้มีจุดดึงดูดให้ผู้คนสนใจในการนำเสนอสินค้า การที่หมู่บ้านต่างๆ มีการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยแม่บ้านหรือพ่อบ้านที่ไม่สามารถไปทำงานข้างนอกได้จึงหันมาหัดทำขนมปังในเอกลักษณ์ของกลุ่มนั้น เช่นปั้นเป็นรูปสัตว์และรูปดอกไม้และตัวอักษรเพื่อนำไปประกอบเป็นรูปร่างเป็นการพัฒนาจากการปั้นขนมปัง

2. แนวคิดในการออกแบบ
ห้างโลตัสเป็นห้างที่มีแผนกเบอร์กรี่ ที่มีการคิดสร้างสรรค์ด้านทำป้ายแผนกเชิญชวนผู้คนซื้อของใช้ของกินในห้างต่างพากันมองแผนกเบอร์กรี่เพราะทำป้ายหน้าแผนกด้วยขนมปัง

การที่แผนกเบอร์กรี่นำแป้งขนมปังมาปั้นเป็นรูปภาพและตัวอักษรเพื่อนำไปติดเป็นป้ายโฆษณาเพื่อเชื่อเชิญและชวนมองและส่งเสริมให้มลพิษน้อยลงเพราะแป้งขนมปังนำมาทำป้ายโฆษณาและป้ายโฆษณาสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆได้ จากการศึกษาถึงประวัติห้างโลตัสและศึกษาด้านแผนกเบอร์กรี่ ,แนวความคิดในการออกแบบ, รูปแบบการตกแต่ง, กลุ่มลูกค้า และการให้บริการ โดยเลือกการปั้นขนมปัง เนการใช้รูปแบบของขนมปัง สะดุดตา สีสันน่ารับประทาน และป้ายทำด้วยขนมปัง ทำให้มุมมองว่าทางแผนกมีการประยุกต์ขนมปังมาแทนที่จะทำป้ายโฆษณาชวนเชื่อมากกว่า การเอาแป้งขนมปังมาปั้นเป็นป้ายโฆษณาแผนกแทน จากการที่ได้ศึกษาว่าการออกแบบขนมปังให้เป็นรูปแบบต่างๆ เช่น การประยุกต์ในแป้งขนมปังมาเป็นป้ายโฆษณาให้สวยงามเพื่อมาประดับประดาในร้าน และยังสามารถนำมาเป็นป้ายเมนูชนิดปังในร้านได้ด้วย และยังสามารถดัดแปลงเป็นสิ่งของเช่น ของชำรวย และของประดับประดา คือ พวงกุญแจ ป้ายชื่อ กรอบรูป โมบาย ซึ่งการดัดแปลงผลงานชิ้นนี้สามารถ มีความคงทนอยู่ประมาณ 2 ปี ถ้ามีการเก็บรักษาอย่างดี เพราะการที่เรามาดัดแปลงเป็นสิ่งของเพื่อให้เกิดความสวยงามจึงมีราคาต่อชิ้นไม่เท่ากัน เช่น พวงกุญแจราคาประมาณ 20 บาท ส่วนป้ายชื่อ กรอบรูปขึ้นอยู่กับขนาดและความยากง่ายของงานแต่ละชิ้นนั้นๆ

จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่านอกจากการนำแป้งมาปั้นขนมปังเป็นรูปแบบต่างๆ เพื่อขายนั้นยังสามารถดัดแปลงเป็นของชำรวยหรือสิ่งของที่สามารถประประดาได้ แล้วยังเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้และพัฒนาของการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวซึ่งในสังคมนี้ย่อมมีการแข่งขันในการตลาดสูงจึงเกิดกระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแปลงรูปแบบการปั้นขนมปัง

3. วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบการปั้นแป้งขนมปังเพื่อพัฒนาความรู้ที่สามารถประยุกต์มาใช้ชีวิตประจำวันและประกอบวิชาชีพได้
2. เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริงของการปั้นแป้งขนมปังเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการพัฒนาวิชาชีพสำหรับพ่อบ้านแม่บ้าน

4. ขอบเขตของโครงการ
แนวความคิด (Concept) ในการออกแบบการปั้นแป้งต้องคำนึงถึงผู้บริโภคและพ่อบ้านแม่บ้านเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการออกแบบการปั้นแป้งขนมปังเพื่อพัฒนาทักษะ ต้องมีความเหมะสมกับการฝึกทักษะทางด้านนี้โดยตรง การเลือกแป้งให้เหมาะสมกับการฝึกทักษะทางด้านนี้โดยตรง การเลือวัสดุที่เหมาะสมในการปั้นแป้ง รวมไปถึงผู้บริโภคและพ่อบ้านแม่บ้านเป็นสำคัญแนวทางในการจัดทำจึงของเสนอขอบเขตในการทำงานดังนี้
1. IDEA SKETCH
2. CONCEPT SKETCH
3. STUDY MODEL
4. WORKING DRAWING
5. ศึกษาข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง
6. การศึกษาจากตัวอย่างกรณีศึกษา (CASE STUDY)
7 ต้นแบบการสร้างงานต้นแบบเหมือนจริง ของป้ายและภาพโดยแสดงประกอบในการตกแต่งของแผนกหรือร้านค้า ได้แก่ ป้ายชื่อ กรอบรูป รูปภาพ โมบาย ซึ่งการดัดแปลงผลงานชิ้นนี้สามารถ มีความคงทนอยู่ประมาณ 2 ปี
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. กระบวนการในการออกแบบงานปั้นแป้งขนมปังในรูปแบบต่างๆ รูปภาพและตัวอักษร
2. ต้นแบบเหมือนจริง (Prototype) ของการปั้นขนมปังในรูปแบบต่างๆ เช่นรูปภาพและตัวอักษร

No comments: