Wednesday, February 28, 2007

บทที่4

บทที่ 4
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

โครงการออกแบบการการปั้นแป้งขนมปังที่สามารถนำมาประยุกต์มาปั้นแป้งขนมปังเป็นรูปภาพต่างๆ
ในครั้งนี้ได้สรุปวิเคราะห์ข้อมูลโดยได้นำไปกำหนดแนวทางในการออกแบบและได้ผลการศึกษาดังนี้

1. สรุป
ปัจจุบันกระแสธุรกิจร้านขนมปังหรือตามห้างต่างๆในประเทศเริ่มนำเข้ามาประยุกต์หรือดัดแปลงในรูปแบบต่างๆ ซึ่งไม่ใช่แต่เรื่องในด้านรับประทานอย่างเดียวตอนนี้เริ่มมีความคิดสร้างสรรค์กันมากขึ้นอย่างเช่นการนำขนมปังมาดัดแปลงปั้นเป็นขนมปังหน้าศพหรือขนมปังทำเป็นกระทงและยังเป็นของใช้เช่นกล่องกระดาษทิชชูที่ติดตู้เย็นและยังมีการนำไปทำสมุดโน้ต ขนมปัง ซึ่งผลงานที่สร้างสรรค์จากจิตนาการล้วนแต่เป็นงานศิลปะที่สามารถสร้างรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี
การที่ทางกรมส่งเสริมผลิภัณฑ์หนึ่งตำบลได้เปิดโอกาสให้กลุ่มชุมชนหรือหมู่บ้านได้มีการผลิตสินค้าหรือเครื่องอุปโภคบริโภคนั้นเป็นสิ่งที่ให้ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แล้วยังประยุกต์จากของเหลือใช้มาทำให้รายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
การที่สังคมในทางการตลาดมีการแข่งขันอยู่ตลอดจึงมีผลต่อให้ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้ออกแบบของการปั้นขนมปังให้ดูโดดเด่นและแปลกตาไม่ว่าจะเป็นทางอุปโภคหรือบริโภค แนวความคิดในการออกแบบผลงานแต่ละชิ้น ทำให้กระบวนการสื่อสาร มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ซึ่งมักจะพบเห็นและสัมผัสได้ด้วยตาเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้หลักในการออกแบบ และวิธีการทางศิลปะมาสร้างสรรค์ เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างผู้สื่อสารและผู้รับสารโดยสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้เกิดการยอมรับและมีทัศนะคติที่ต่อการตอบสนองสื่อที่มองเห็น การสร้างสรรค์สื่อ แต่ละครั้งต้องคำนึงถึง ความพอดีระหว่างสื่อกับผู้รับสาร
การออกแบบการปั้นขนมปังเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในกลุ่มที่มีจิตนาการด้านงานศิลปะไม่ว่าจะเป็นการออกแบบในลักษณะที่นำไปรับประทานหรือของประดับประดาตกแต่งสถานที่และยังสามารถนำไปเป็นของฝากหรือให้ในเทศกาลต่างๆของวัยรุ่นสมัยนี้ยังได้


จากข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นแนวทางในการออกแบบการปั้นขนมปังในรูปแบบต่างๆสำหรับร้านขนมปังหรือร้านกิ๊ฟช็อปรวมไปถึงกลุ่มหมู่บ้านชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล โดยกำหนดวัตถุประสงค์การออกแบบคือ
1. เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบการปั้นแป้งขนมปังเพื่อพัฒนาความรู้ที่สามารถประยุกต์มาใช้ชีวิตประจำวันและประกอบวิชาชีพได้
2. เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริงของการปั้นแป้งขนมปังเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการพัฒนาวิชาชีพสำหรับพ่อบ้านแม่บ้าน
ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงนำมาพัฒนากระบวนการออกแบบตามขั้นตอนดังนี้
- ศึกษาข้อมูลทางการออกแบบการปั้นแป้งขนมปังโดยคำนึงถึงการมีความคิดสร้างสรรค์ในการปั้นและดัดแปลงรูปทรงของขนมปัง
- ศึกษาการออกแบบและหลักของการออกแบบ , การปั้นแป้งขนมปังเป็นรูปแบบต่างๆ
เช่นรูปภาพต่างๆ ตัวอักษร หรือ ของประดับดาที่สามารถตกแต่งสถานที่ได้
- สรุปแบบร่างโดยการกำหนดรายละเอียดของการปั้นขนมปังทำแบบพัฒนาแล้ว
- จัดทำต้นแบบเหมือนจริง เพื่อประเมินผลของสมมติฐานการออกแบบตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

2. อภิปรายผล
โครงการออกแบบการปั้นแป้งขนมปังสำหรับร้านหรือห้างและหมู่บ้านชุมชนต่างๆ เป็นการออกแบบเพื่อเสนอให้ทราบถึงการดัดแปลงในการปั้นแป้ง โดยการจัดทำในการปั้นแป้งว่างานแต่ละชิ้นถ้ามีการออกแบบหรือการแนวมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงานแต่ละชิ้นเพื่อเป็นที่น่าสนใจ ในการออกแบบการปั้นแป้งขนมปังที่สอดคล้องกับร้านหรือห้างและหมู่บ้านชุมชน จากการศึกษาถึงประวัติห้างและร้านหรือกลุ่มหมู่บ้านชุมชน แนวความคิดในการให้รูปแบบขนมปังเป็นแบบต่างๆ โดยเลือกแบบที่ร่วมสมัยและประยุกต์ดัดแปลงให้เป็นที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นในส่วนหนึ่ง การที่มีการประยุกต์การปั้นแป้งขนมปังทั้งรับประทานได้และไม่ได้นั้น สื่อให้เห็นในมุมของงานศิลปะ และยังช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติเช่นในส่วนของการทำกระทงโดยการปั้นแป้งขนมปังเป็นรูปกระทงเพื่อเทศกาลของเมืองไทยจึงทำให้เห็นประโยชน์ของการปั้นแป้งขนมปังมากขึ้น





จากการศึกษาตามกระบวนการดังกล่าวจนถึงขั้นสุดท้ายของการทำต้นแบบเหมือนจริง (Prototype) ได้มีการนำไปประเมินผลกับกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคและอุปโภคชายและหญิง ที่มาบริการห้างโลตัสและร้านขนมปัง,ร้านกิ๊ฟช็อป


รายละเอียดของการออกแบบ ดีมาก ดี พอใช้ ไม่เหมาะสม
1. ความเหมาะสมของภาพประกอบ 33.33% 46.67% 20%


2.ความเหมาะสมของสื่อที่สื่อ 66.67% 33.33%


3. ความเหมาะสมของตัวอักษร 33.33% 67.67%


4. ความเหมาะสมของรูปภาพ 73.33% 26.67%


5. ความเหมาะสมของขนาดผลงาน 43.33% 40 % 16.67%


6. ความเหมาะสมของการใช้งาน 20% 56.67% 23.33%


7.ความสัมพันธ์ของเนื้อหาของงาน 73.33% 26.67%


8. ความสัมพันธ์ของภาพประกอบของเนื้อหา 83.33% 16.67%


9. ความสัมพันธ์ในส่วนประกอบทั้งหมดของผลงาน 20% 66.67% 13.33%


10. การสื่อความหมายของผลงาน 10% 56.67% 33.33%



ตารางที่ 1 แสดงผลการประเมินผลความพึงพอใจ การออกแบบสัญลักษณ์สำหรับห้างโลตัสและร้านค้า


ผลของการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้อุปโภคและบริโภคมีความพึงพอใจในการปั้นแป้งขนมปังเป็นรุปภาพหรือป้ายชื่อร้านสำหรับห้างร้านค้าหรือหมู่บ้านชุมชน อยู่ในระดับดีในส่วนใหญ่ โดยกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคมีความเห็นว่าการปั้นแป้งขนมปังมีความเหมาะสมของภาพประกอบอยู่ในระดับดีร้อยละ 46.67 ดีมากร้อยละ 33.33 และพอใช้ร้อยละ20 ด้านความเหมาะสมของสื่อที่ใช้สื่อ อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 66.67 และดีร้อยละ33.33ด้านความเหมาะสมของขนาดตัวอักษรอยู่ในระดับดีร้อยละ 66.67 อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 33.33 ด้านความเหมาะสมของรูปภาพ อยู่ในระดับดีร้อยละ 73.33และพอใช้ร้อยละ 26.67 ด้านความเหมาะสมของขนาดผลงานอยู่ในระดับดีร้อยละ40 ดีมากร้อยละ23.33 และดีมากร้อยละ 20 ด้านความเหมาะสมของการใช้งาน อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 66.67 และดีร้อยละ 33.33 ความสำคัญของภาพประกอบกับเนื้อหาของงาน อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 83.33 และดีร้อยละ 16.67 ด้านความสัมพันธ์ในส่วนประกอบทั้งหมดของผลงานอยู่ในระดับดีร้อยละ 66.67 อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 16.67 และอยู่ในระดับพอใช้ร้อยละ 13.33 และด้านการสื่อความพึงพอใจของผู้บริโภคยู่ในระดับดีร้อยละ 56.67 พอใช้ 33.33และดีมากร้อยละ 10 จากผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้อุปโภคและบริโภคชี้ให้เห็นแนวทางการออกแบบการปั้นแป้งขนมปังสำหรับห้างโลตัสหรือร้านค้าและหมู่ บ้านชุมชน ควรคำนึงถึงประโยชน์ในการอุปโภคและบริโภคควบคู่กับสวย สด สะอาด

3. ปัญหาในการทำงาน
การออกแบบการปั้นแป้งขนมปังของห้างหรือร้านและหมู่บ้านชุมชนในครั้งนี้พบปัญหาของกระบวนการทำงานคือ เรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับเจ้าของร้านหรือผู้จัดการห้างและพนักงานที่ไม่ตรงต่อเวลาและไม่กำหนดอบขนมปังที่ทำให้แน่นอน ทำให้ขนมปังที่ปั้นมานั้นไม่มีสีที่คิดไว้ และการผสมแป้งถ้าพนักไม่จำสูตรส่วนผสมก็จะทำให้แป้งที่นวดไว้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งการที่มีการกำหนดเวลาในการปั้นแป้งขนมปังการกำหนดเวลาอบนั้นเป็นส่วนที่ต้องแก้ไขเพราะการทำให้ขนมปังนิ่มแข้งมันอยู่ที่การผสมแป้งและนวดแป้งด้วย จึงต้องมีการแก้ไขที่ดีคือการตักหรือตวงให้ตรงกับสูตรที่วางไว้และเวลาที่ตั้งตอนนวดหรืออบไว้เพื่อให้แป้งขนมปังมีสีและความนุ่มที่เราต้องการ

4. ข้อเสนอแนะ
จากผลสรุปของกระบวนการออกแบบดังกล่าว เบื้องต้นพบว่าการออกแบบการปั้นแป้งขนมปังต้องเข้าใจในสิ่งที่จะปั้นว่าปั้นเพื่อรับประทานหรือปั้นเพื่อเป็นงานประดิษฐ์ ในการวางแผนหรือขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ต้องให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน และกำหนดเวลาสำหรับการนวดแป้งและอบขนมปังให้เป็นไปตามผลการทดสอบในการปั้นแป้งขนมปัง เนื่องจากแป้งขนมปังถ้าเวลาไม่ดีจะทำให้แป้งนั้นคลายตัวได้จึงมีการกำหนดเวลาที่แน่นอนเพื่อจะได้รูปแบบที่เราต้องการ

แบบสอบถามความพึงพอใจ
เรื่อง การออกแบบการปั้นแป้งขนมปังสำหรับห้างโลตัสหรือร้านค้าและกลุ่มบ้านชุมชน
ผู้ออกแบบ นายอุดม ทรวดทรง
นักศึกษาหมู่เรียน คบ24 (4/4) โปรแกรมวิชาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม





คำชี้แจง

1. แบบสอบถามดังกล่าวนี้มีจุดหมายเพื่อการประเมินผลการออกแบบของวิชา
2. ผลจากการตอบแบบสอบถามดังกล่าวนี้ เป็นแนวทางของการประเมินผลการ
3. กรุณาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในด้านต่างๆ ตามรายละเอียดของการออกแบบด้วยการใส่เครื่องหมาย ในข้อที่ท่านเลือก โดยมีระดับการประเมินผลดังนี้

3.1 ระดับดีมาก หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับดีมากโดยไม่ต้องทำ
3.2 ระดับดี หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับดีโด่ยไม่ต้องทำ
3.3 ระดับพอใช้ หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับดีโดยปานกลาง
3.4 ระดับไม่เหมาะสม หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับไม่เหมาะสมโดยควรทำการปรับปรุงแก้ไข



รายละเอียดของการออกแบบ ดีมาก ดี พอใช้ ไม่เหมาะสม
1. ความเหมาะสมของภาพประกอบ



2.ความเหมาะสมของสื่อที่สื่อ



3. ความเหมาะสมของตัวอักษร



4. ความเหมาะสมของรูปภาพ



5. ความเหมาะสมของขนาดผลงาน



6. ความเหมาะสมของการใช้งาน



7.ความสัมพันธ์ของเนื้อหาของงาน


8. ความสัมพันธ์ของภาพประกอบของเนื้อหา



9. ความสัมพันธ์ในส่วนประกอบทั้งหมดของผลงาน



10. การสื่อความหมายของผลงาน




การประเมินผลของท่านเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โครงการออกแบบการปั้นแป้งขนมปังสำหรับห้างโลตัสหรือร้านค้าและหมู่บ้านชุมชน ผู้ศึกษาจึงขอขอบพระคุณที่กรุณาสละเวลาในการตอบแบบสอบถามดังกล่าวนี้



นายอุดม ทรวดทรง

นักศึกษาหมู่เรียน คบ24 (4/4) โปรแกรมวิชาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

No comments: